วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1. กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
                 กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ คือ มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ถือหลักความเสมอภาคนี้ เป็นหลักที่ควบคุมไม่ให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
 เห็นด้วย เพราะ การที่จะเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น  จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพื่อ เป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ  และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น  อย่างเช่นเรา อนาคตจะเป็นครู ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู เพราะใบประกอบวิชาชีพครูเป็นตัวชี้วัดว่าเรานั้นมีความสามารถพอที่จะไปประกอบวิชาชีพครู และ เป็นการประกันคุณภาพว่าเราจะสอนนักเรียนให้มีความรู้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของดิฉัน คือ ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนในด้านงบประมาณจากทรัพยากรในท้องถิ่นที่ตนมีอยู่ มาจัดการเรียนการสอนให้กับคนในท้องถิ่น เพื่อให้โอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชน ที่ด้อยโอกาสทางทางการศึกษาให้ได้เรียน และมีความรู้ ความคิด ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน
   
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบของการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
1.             การศึกษาในระบบ
2.             การศึกษานอกระบบ
3.             การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ ประกอบด้วย
1.             ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี แบ่งเป็น 3 ระดับ
1.1      การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
1.2      การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
1.3      การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
-                   การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
-                   การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
2.             ระดับการศึกษาอุดมศึกษา คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกัน ซึ่ง การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วน การศึกษาภาคบังคับ เป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.             สำนักงานรัฐมนตรี
2.             สำนักงานปลัดกระทรวง
3.             สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4.             สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.             สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6.             สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม  2 , 3 , 4 , 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เพราะ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณของวิชาชีพครู รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมาย เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครูให้มีอำนาจที่จะกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และมี อำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพ และเพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว   หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นใน มาตรา 43  คือ ห้ามไม่ให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.             ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2.             ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3.             นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4.             ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5.             ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6.             คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7.             ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8.             บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำผิด วิธีในการกำหนดโทษมี 4 แบบ คือ
-                   ความผิดร้ายแรง จะลงโทษต่ำกว่าให้ออกราชการไม่ได้
-                   ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ระดับโทดไม่เกินลดขั้นเงินเดือน
-                   ความผิดเล็กน้อย ลงโทษภาคทัณฑ์
-                   ความผิดเล็กน้อย และเป็นความผิดครั้งแรก ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควร
ลงโทษจะงดโทษ โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ
1.             ภาคทัณฑ์
2.             ตัดเงินเดือน
3.             ลดขั้นเงินเดือน
4.             ปลดออก
5.             ไล่ออก

10. ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก   เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
เด็กคือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อนคือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนทำให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ จนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้าคือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากคือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ถูกคุมขัง หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดคือเด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
ทารุณกรรมคือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำที่ทำให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น