วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
                - มาตรา 4  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
                - มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด  เชื้อชาติ ภาษา  เพศ   อายุ  ความพิการ  สภาพทางกายหรือสุขภาพ  สถานะของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ 
                 มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม


2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
                การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                - มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
                การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
      ส่วนที่ 4  แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม  การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
                - มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนว นโยบายด้านสังคม   การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
                ที่เกี่ยวกับการศึกษา จะอยู่ใน (3) และ (4)
                 (3)   พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ  และทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ  จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึก ของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            (4)  ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การ ทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

3. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
    -  การออกเสียง ประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550
    -  ประการราชกิจจานุเบกษา และประกาศใช้ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550
   -  ผู้เยาว์
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังอ่อนในด้านอายุ ร่างกาย และสติปัญญา
กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคล ซึ่งเรียกว่า "ผู้แทนโดยชอบธรรม"
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง
2. ผู้ปกครอง
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะต่อเมื่อ
1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์
2. สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย
-  สถานะ คือ ตำแหน่งหรือฐานะของบุคคล
                คนเกิดในบ้าน แจ้งภายใน 15 วัน
                คนเกิดนอกบ้าน แจ้งภายใน 30 วัน
                คนตายในบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง
                คนตายนอกบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบศพ
-  กฎหมายการสมรส ที่สมบูรณ์นั้น จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เพื่อให้ถูกต้องทางด้านนิตินัย
      คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
  • จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
    กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
สมรสกับคู่สมรสเดิม
มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
รัฐธรรมนูญ สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
                 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
                 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
                 รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
                 รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน

4. ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

                เราต้องมีความรู้ และ ความเข้าใจ  เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ  แห่งราชอาณาจักรไทย   เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ และเคารพในสิทธิเสรีภาพซึ่งกันละกัน  เคารพเกียรติ  ศักดิ์ศรี  ความเป็นมนุษย์ รวมทั้งปฏิบัติตนต่อผู้อื่น อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน

5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ   เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
                ดิฉันคิดว่า ถ้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วจะเกิดผลดีต่อประชาชนชาวไทย และประเทศชาติ ได้ ดิฉันก็เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าแก้ไขแล้วทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พวกใดพวกหนึ่ง หรือแก้ไขเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ก็ไม่ควรแก้ เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ และต้องคิดเสมอว่า แก้ไขแล้วจะเกิดผลอย่างไร ประชาชนและประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ หรือเสียประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ต้องมีคนเห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย จึงทำให้ประชาชนบางกลุ่มคัดค้านซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่สามารถกระทำได้
                เหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
                - รัฐธรรมนูญข้อใดๆ  ที่ไม่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนแต่กลับ เอื้อประโยชน์ให้กับหมู่ชนบางกลุ่ม
                - ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เข้ากับยุคปัจจุบัน

6. ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจ ที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
            การปกครองประเทศ ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียร ต่อการบริหารบ้านเมือง ถ้าอำนาจทั้ง 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ ไม่มีความสมดุลซึ่งกันและกัน เพราะการปกครองประเทศจะต้องคำนึงถึงส่วนรวม ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เพราะการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยึดเอาความคิดของตนเป็นที่ตั้ง ไม่รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน จึงทำให้มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน แบ่งสีกัน จนเกิดปัญหาต่างๆมากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บ้านเมืองและประเทศชาติไม่เจริญ และตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทัน





วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

นิยามของคำว่า "นิติกรรม"
การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

นิยามของคำว่า "นิติบุคคล"
ไม่ใช่บุคคลธรรมดามีสถานะเป็นองค์กรห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทสมาคมหรือวัดก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล

นิยามของคำว่า "ราชอาณาจักร"
หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป และตามความตกลงกับต่างประเทศด้วย

นิยามของคำว่า "ทบวงการเมือง"
หน่วยราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น

นิยามของคำว่า "การปกครอง"
คือแนวทางในการบริหารประเทศซึ่งประเทศไทยปกครองโดย ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองบริหารประเทศ

นิยามของคำว่า "การสอบสวน"
การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมา ฟ้องลงโทษ

นิยามของคำว่า "วินาศภัย"
 ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

นิยามของคำว่า "สิทธิ"
 สิทธิ หมายถึง อำนาจซึ่งกฎหมายบัญญัติรับรองคุ้มครอง ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่น

นิยามของคำว่า "เสรีภาพ"
 สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน โดยมีอำนาจทำอะไรได้ตามใจความเป็นอิสระแก่ตัว

นิยามของคำว่า "แลกเปลี่ยน"
 สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกัน

นิยามของคำว่า "อำนาจ"
      อำนาจ หมายความว่า อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่

นิยามของคำว่า "จำเลย"
บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด

นิยามของคำว่า "พยาน"
 เป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ

นิยามของคำว่า "พินัยกรรม"
 เป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

นิยามของคำว่า "พฤติกรรม"
พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งภายนอกและใน เป็นการแสดงออกที่เห็นได้จากภายนอก โดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วนกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน [นิยามศัพท์กฎหมาย], (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/word.asp?w=%E0%B8%99  [7 พฤศจิกายน 2555]



แนะนำตนเอง




นางสาวอาดีละ  เจ๊ะดือเลาะ
รหัส 5311103116
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ข้อมูลการศึกษา
  • บ้านเลขที่ 107  ม.3 ต. เกียร์  อ. สุคิริน จ.นราธิวาส 96190
  • เบอร์โทรศัพท์ 0883981700
  • E-mail : sweet_mns_77@hotmail.com
  • Blogger : adeelah53.blogspot.com
ข้อมูลการศึกษา
  • ระดับชั้นประถมศึกษา : โรงเรียนบ้านน้ำใส
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนรอมาเนีย
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนสุคิรินวิทยา
  • ปัจจุบัน กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ปรัชญาชีวิต
    
      อุปสรรคในวันนี้ คือความสำเร็จในอนาคต