ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้
1. มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว
มีดังนี้
“เด็ก” คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” คือ
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนทำให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ จนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ถูกคุมขัง
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กพิการ” คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง
สติปัญญาหรือจิตใจ
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
“นักเรียน” คือ
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“นักศึกษา” คือ
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“บิดามารดา” คือ บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
“ผู้ปกครอง” คือ บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม
และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง
ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง
ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย
“ครอบครัวอุปถัมภ์” คือ บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
“การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” คือ การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน
หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” คือ
การกระทำหรือละเว้นการกระทำที่ทำให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
หรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“สืบเสาะและพินิจ”
คือ
การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์
แพทย์ จิตวิทยา
กฎหมายและหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
“สถานรับเลี้ยงเด็ก” คือ สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6
ปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
“สถานแรกรับ” คือ
สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว
เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
“สถานสงเคราะห์” คือ
สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์
ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
“สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ” คือ สถานที่ให้การศึกษา อบรม
ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
ประกอบด้วย
-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นประธานกรรมการ
-
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นรองประธานกรรมการ
-
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
-
ปลัดกระทรวงยุติธรรม
-
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-
อัยการสูงสุด
-
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
-
อธิบดีกรมการปกครอง
-
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
-
อธิบดีกรมสุขภาพจิต
-
อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
-
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก
เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ
-
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี
และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ
3 ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง
เมื่อ
1.
ตาย
2.
ลาออก
3.
รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
4.
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
5.
เป็นบุคคลล้มละลาย
6.
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
7.
ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด
ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
การกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
หรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็กหรือไม่
ให้พิจารณาตามแนวทางที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ยกตัวอย่าง
ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำในประเด็นต่อไปนี้
1.
ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้าง
เลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
2.
ละทิ้งเด็กไว้ ณ
สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
3.
จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
4.
ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
5.
ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
ตัวอย่าง การทิ้งเด็กตามสถานที่ต่องๆ เช่น ข้างถนน
ถังขยะ เป็นต้น การไม่ให้เด็กเรียนหนังสือ การไม่ให้การรักษาแก่เด็ก
การทุบตีเด็กเพราะเด็กทำอะไรไม่พอใจผู้ปกครอง การขมขืนเด็ก เป็นต้น
7.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นต่อไปนี้
1.
กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
2.
จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่
อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
3.
บังคับ ขู่เข็ญ
ชักจูง ส่งเสริม
หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
4.
โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด
เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก
เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
5.
บังคับ ขู่เข็ญ
ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน
หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด
หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
6.
ใช้ จ้าง
หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผล
กระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
7.
บังคับ ขู่เข็ญ ใช้
ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด
เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต
หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
8.
ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน
สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
9.
บังคับ ขู่เข็ญ
ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร
ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
10.
จำหน่าย
แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก
เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น
8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
เด็กที่ควรได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่
1.
เด็กเร่ร่อน
หรือเด็กกำพร้า
2.
เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3.
เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด
ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า
ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
4.
เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อ
พัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
5.
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม
หรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
6.
เด็กพิการ
7.
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8.
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
9. เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
เด็กที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ได้แก่
1.
เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2.
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3.
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
10. ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร
และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
ต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน
นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม
และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจนำตัว
ไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น
เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ
ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือ
สั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง
11. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง
มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
มาตรา ๗๘
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐
หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๐
ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕)
หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน
เจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔)
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ
ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น
การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๑
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ
ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๒
ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒
โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตหรือยื่นคำขอต่อใบ
อนุญาตภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๓
เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ
หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง
หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคำแนะ
นำของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้ว
การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๔
ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ
และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๕๕
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๕
ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ
หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา ๖๔
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๖
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
12. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับนี้คือ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น