ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
- มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
- มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น
ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
2.
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
- มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค
หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
- มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
- มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด
5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา
สังคม การสาธารณสุข การศึกษา
และวัฒนธรรม
- มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนว นโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
ที่เกี่ยวกับการศึกษา จะอยู่ใน (3) และ (4)
(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ และทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทัน
การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึก ของความเป็นไทย
มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชุมชน องค์การ ทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
- การออกเสียง ประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550
- ประการราชกิจจานุเบกษา และประกาศใช้ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550
- ประการราชกิจจานุเบกษา และประกาศใช้ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550
- ผู้เยาว์
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังอ่อนในด้านอายุ ร่างกาย และสติปัญญา
กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคล ซึ่งเรียกว่า "ผู้แทนโดยชอบธรรม"
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังอ่อนในด้านอายุ ร่างกาย และสติปัญญา
กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคล ซึ่งเรียกว่า "ผู้แทนโดยชอบธรรม"
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง
2. ผู้ปกครอง
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะต่อเมื่อ
1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์
2. สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะต่อเมื่อ
1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์
2. สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย
- สถานะ คือ ตำแหน่งหรือฐานะของบุคคล
คนเกิดในบ้าน แจ้งภายใน 15 วัน
คนเกิดนอกบ้าน แจ้งภายใน 30 วัน
คนตายในบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง
คนตายนอกบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบศพ
คนเกิดในบ้าน แจ้งภายใน 15 วัน
คนเกิดนอกบ้าน แจ้งภายใน 30 วัน
คนตายในบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง
คนตายนอกบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบศพ
- กฎหมายการสมรส ที่สมบูรณ์นั้น
จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เพื่อให้ถูกต้องทางด้านนิตินัย
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
- จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์
และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง - ไม่เป็นคนวิกลจริต
หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
หญิงหม้ายจะสมรสใหม่
เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน
เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- รัฐธรรมนูญ สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
4.
ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
เราต้องมีความรู้ และ ความเข้าใจ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติตามบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญ และเคารพในสิทธิเสรีภาพซึ่งกันละกัน เคารพเกียรติ ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ รวมทั้งปฏิบัติตนต่อผู้อื่น อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน
5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ดิฉันคิดว่า ถ้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วจะเกิดผลดีต่อประชาชนชาวไทย
และประเทศชาติ ได้ ดิฉันก็เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ถ้าแก้ไขแล้วทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พวกใดพวกหนึ่ง
หรือแก้ไขเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ก็ไม่ควรแก้ เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ และต้องคิดเสมอว่า แก้ไขแล้วจะเกิดผลอย่างไร
ประชาชนและประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ หรือเสียประโยชน์อย่างไรบ้าง
ซึ่งแน่นอนว่าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ต้องมีคนเห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย
จึงทำให้ประชาชนบางกลุ่มคัดค้านซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่สามารถกระทำได้
เหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- รัฐธรรมนูญข้อใดๆ ที่ไม่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนแต่กลับ
เอื้อประโยชน์ให้กับหมู่ชนบางกลุ่ม
- ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
6. ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจ
ที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ
มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก
ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
การปกครองประเทศ
ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียร ต่อการบริหารบ้านเมือง ถ้าอำนาจทั้ง 3 อำนาจ
คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ ไม่มีความสมดุลซึ่งกันและกัน
เพราะการปกครองประเทศจะต้องคำนึงถึงส่วนรวม ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เพราะการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ยึดเอาความคิดของตนเป็นที่ตั้ง ไม่รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
จึงทำให้มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน แบ่งสีกัน จนเกิดปัญหาต่างๆมากมาย
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บ้านเมืองและประเทศชาติไม่เจริญ และตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทัน